ความในใจ
ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะเป็นยุคดิจิตัล จะมีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยและสะดวกกว่าการเขียนจดหมาย และผู้คนในยุคไม่ค่อยนิยมที่จะเขียนจดหมาย เหมือนในอดีต แต่ผู้เขียนยังเชื่อว่าภาษาเขียนเป็นภาษาใจ และการเขียนจดหมายรักเป็นความคลาสสิคอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมมนุษย์ จดหมายเป็นความตั้งใจของผู้เขียนจดหมาย เป็นการใช้ความคิดที่กลั่นกรองมากกว่าการใช้ภาษาพูด ความในใจใครรู้บ้าง เป็นเรื่องสั้นเรื่องหนึ่ง ที่เกิดจากจินตนาการ และแรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมการเขียนจดหมาย ตั้งแต่อดีต ที่ผู้เขียนเคยใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนที่ห่างไกล ได้นำความประทับใจไปสู่ผู้ได้รับจดหมายเสมอ เรื่องราวทั้งหมดมาจากประสบการณ์ ชื่อตัวละครมาจากการเปิดพจนานุกรมชื่อมงคล ทั้งดรุณีและกานต์สินี ไม่ใช่บุคคลที่มีอยู่จริง ผู้เขียนตั้งใจจะให้เป็นนิยายที่สร้างความสุขอิ่มเอมใจ เมื่อได้อ่านการเขียนจดหมายของตัวละคร และวิถีชีวิตที่พระเอกกำลังเป็นอยู่
ความสุขของวัยหนุ่มสาว คือความสัมพันธ์ที่ดี บรรยากาศชีวิตที่สงบร่มรื่นย์ มีออกซิเจน มีเพลงโปรดให้ได้ฟัง มีวรรณกรรมให้อ่าน มีอาชีพและมีรายได้เพียงพอ มีคนรู้ใจที่ส่งความห่วงใย มีเพื่อนที่หวังดี ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวก และจะมีอะไรที่ทำให้ชีวิตมีความสุขอีกมากขึ้นด้วยเมื่อมีความรัก ความรื่นรมย์ของชีวิตที่สุดคือการตัดสินใจร่วมชีวิตกับใครสักคนที่มีใจตรงกัน เป็นครอบครัวที่อบอุ่น ตัวอย่างชีวิตที่ถึงพร้อม สิ่งที่มนุษย์ปรารถนาสุงสุด มีเพียงสิ่งเดียวคือความรักความอบอุ่น ที่เกิดขึ้นในใจ หากมิตรรักนักอ่านเกิดความสุข จากการอ่านนิยายเรื่องนี้ จะถือเป็นความสำเร็จย่อมๆ ของนักเขียนด้วยเช่นกัน
รักนักอ่าน
นคเรศ ณ เสนางค์