THUMBELINA MAN : แดนหัวแม่มือ 5 in 1 โลกอีกใบบนฟ้ากว้างกับการจัดวางของกาลเวลา
โพรทิสต์ แปลว่าสิ่งแรกสุด แต่ไม่ใช่กับมหากษัตริย์โพรโทไฟตาที่สามแห่งราชวงศ์แพนซี เขาคือแฝดน้องของเจ้าชายหัวข้าวโพด ลูกคนที่สองในบรรดาพี่น้อง 12 ขวด ชายผู้สว่างามเปรียบดั่งสุริยะกษัตริย์ รับภาระบริหารอาณาจักรเนื่องจากไม่มีใครยอมแบกบัลลังก์
ปีนั้นเมื่อครอบครัวมีฟบ่ายหน้า ยืนกรานว่าอำนาจไม่ใช่แนวทางของเรา คนขวดผู้เติบโตแบบรากหญ้าในเคนย่าไม่สันทัดการปกครอง ยกเว้นคนเดียวที่เรามั่นใจ เป็นใครไปไม่ได้ยกเว้นจอมวางแผนโพรทิสต์ ไอ้คนบ้าที่ชอบตัดปีกตัวเองทิ้งแล้ววิ่งบนฟ้าด้วยสองขาชาวดิน
โอซี่ หรือฮันนี่บี หนึ่งในฝูงผึ้งอพยพ ได้รับมหากรุณาจากราชาแพนซี่ สามารถมีที่อยู่ในอาณาจักรหลวง เจ้าของเส้นผมน้ำผึ้งรวงทอง ใบหน้างามละเมียด มีเกล็ดละอองสีขาวน่ารักประปรายกระจายบนแก้ม กับหนวดสีดำสองเส้นบนหัวผึ้งน้อยแวววาวดั่งกำมะหยี่สีมะเกลือ
โอซี่ เจ้าผึ้งน่ารักผู้ก้าวเข้ามาทักช่างไม้ชาวดินในวันแห่งโชคชะตา หยิบยื่นน้ำหวานแก่ผู้ที่ช่วยสร้างบ้านให้เรา คนงานสูงใหญ่เร้าใจและไร้ปีก เจ้าคนเมืองป่าเถื่อนนิสัยใจดีที่เขาไม่รู้สายพันธุ์ แต่มันชอบมองเขาจังเลย
เขียนโดย : DIN THINKR
วาดภาพปกโดย : First_Saturn
งานเขียนลำดับที่ : 41.5 ราคา : 550 Baht
protist-โพรทิสต์
ผีเสื้อแพนซีมยุรา ชื่อสามัญ The Peacock Pansy
ชื่อวิทยาศาสตร์ Junonia almana javana วงศ์ NYMPHALIDAE ขนาด(wingspan) 40 – 55 มม.
ปีกบน พื้นปีกสีส้ม มีจุดวงกลมที่ปีกคู่หน้า 1 จุด ปีกคู่หลัง 2 จุด จุดที่อยู่ทางด้านมุมปลายปีกหลังมีขนาดเล็กกว่า ในบางฤดูจุดนี้อาจมองไม่เห็นไม่ชัด ขอบปีกด้านนอกของปีกคู่หน้ามีแถบสีน้ำตาลเข้ม 4 แถบ ขอบปีกด้านข้างมีเส้นสีน้ำตาลเข้ม ปีกล่าง คล้ายปีกบนแต่สีอ่อนกว่า และเห็นลวดลายจางๆ
ลักษณะของหนอนผีเสื้อ หนอนระยะแรก ลำตัวสีดำ และหนามเป็นแฉกเล็กๆ สีน้ำตาลดำ เรียงเป็นวงรอบลำตัว หนอนระยะถัดไป มีจุดและแถบสีขาวพาดขวางสลับกับสีดำของลำตัว หนามแตกเป็นแฉกเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อน
ลักษณะของดักแด้ ใช้ใยยึดส่วนท้ายของลำตัวติดกับพืชแล้วห้อยหัวลงมาคล้ายตุ้มหูระยะดักแด้ 7 วัน สภาพแหล่งที่อยู่อาศัย ชุมชน พุ่มไม้ ป่าโปร่ง ป่าไผ่ ลำธาร พฤติกรรม : ขณะเกาะมักกางปีกเพื่ออวดตาปลอม ถิ่นอาศัย : พบตามป่าโปร่ง และป่าละเมาะทั่วไป
ผึ้ง (โอซี่)
ผึ้ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่
มนุษย์รู้จักผึ้งมานาน 7000 ปีแล้ว ฟาโรห์เมเนสของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์ คาดว่าผึ้งมีมากกว่า 30,000 ชนิด ซึ่งมากกว่ามนุษย์, ปลา และสัตว์เลื้อยคลานรวมกันเสียอีก ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
1 ส่วนหัว ประกอบด้วยอวัยวะรับความรู้สึกต่างๆ ที่สำคัญคือตารวมมี 2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็กๆเป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตา รวมกัน เชื่อมติดต่อกันเป็นแผง ทำให้ผึ้งสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้รอบทิศ ตาเดี่ยว อยู่ด้านบนส่วนหัวระหว่างตารวมสองข้าง เป็นจุดเล็กๆ 3 จุด อยู่ห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งตาเดี่ยวนี้จะเป็นส่วนที่รับรู้ในเรื่องของความเข้มของแสง ทำให้ผึ้งสามารถแยกสีต่าง ๆ ของสิ่งของที่เห็นได้ ฟริช ดาร์ล ฟอน ได้ทำการศึกษาและพบว่าผึ้งสามารถเห็นสีได้ 4 สี คือ สีม่วง สีฟ้า สีฟ้าปนเขียว และสีเหลือง ส่วนช่วงแสงที่มากกว่า 700 มิลลิไมครอน ผึ้งจะมองเห็นเป็นสีดำ หนวด ประกอบข้อต่อและปล้องหนวดขนาดเท่าๆ กันจำนวน 10 ปล้อง ประกอบเป็นเส้นหนวด ซึ่งจะทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ไวมาก
2 ส่วนอก ประกอบด้วยปล้อง 4 ปล้อง ส่วนด้านล่างของอกปล้องแรกมีขาคู่หน้า อมปล้องกลางมีขาคู่กลางและด้านบนปล้องมีปีกคู่หน้าซึ่งมีขนาดใหญ่หนึ่งคู่ ส่วนล่างอกปล้องที่ 3 มีขาคู่ที่สามซึ่งขาหลังของผึ้งงานนี้จะมีตระกร้อเก็บละอองเกสรดอกไม้ และด้านบนจะมีปีกคู่หลังอยู่หนึ่งคู่ที่เล็กกว่าปีกหน้า
3 ส่วนท้อง ส่วนท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญาเราจะเห็นภายนอกเพียง 6 ปล้อง ส่วนปล้องที่ 8-10 จะหุบเข้าไปแทรกตัวรวมกันอยู่ในปล้องที่ 7 ส่วนผึ้งตัวผู้จะเห็น 7 ปล้อง
โซ่
โลหะเช่นเหล็กเป็นต้น ทำเป็นข้อๆเกี่ยวกันเป็นสายยาวใช้ล่ามแทนเชือก.
"ur welcome, Thanks for all the comments and ratings. Have fun."
*เหตุการณ์ สถานที่ เนื้อเรื่อง คือจินตนาการของผู้แต่ง โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพสื่อ วรรณกรรมในมือท่านเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น