ลักษณะการบรรยายมีแบบไหนบ้างนะ?

 

#

 

ลักษณะการบรรยายมีแบบไหนบ้างนะ?

วันนี้เว็บธัญวลัยมีลักษณะการบรรยายมาฝาก เพื่อให้น้องๆ ได้นำไปปรับใช้กับนิยายของน้องๆ นะคะ

 

            หลายคนเวลาที่บรรยายมักเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง แต่บางคนก็ใช้ทั้งสองแบบปนกัน หากปนกันในเรื่องเดียวกันตอนเดียวกันก็ยังอ่านได้ไหลลื่นอยู่ แต่สิ่งที่ไม่ควรทำเลยก็คือการนำการบรรยายทั้งสองแบบมาปนอยู่ในย่อหน้าเดียวกันหรือฉากเดียวกัน เพราะจะทำให้เกิดการสับสน อ่านไม่ไหลลื่น หรืออ่านแล้วผู้อ่านยังเข้าไม่ถึงฉากนั้นๆ เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาทำความเข้าใจแบบของการบรรยายดีกว่าว่ามีกี่แบบ... ตามมาเลยค่ะ

 

แบบที่ 1 : บุรุษที่1 ตัวละครเป็นผู้บรรยาย

 

            แบบแรกจะเป็นแบบที่นิยมมากที่สุด คือแบบที่ตัวละครเป็นผู้บรรยายทั้งเหตุการณ์ ฉาก และความรู้สึก เป็นการที่ให้ผู้อ่านแทนตัวเองเป็นตัวละครนั้นๆ นั่นเอง โดยคำที่ใช้มักเป็นคนที่ให้เรียกตัวเอง เช่น ฉัน ผม เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น

“ผมทอดสายตาไปยังหน้าประตูก็เห็นโซลเยอร์สองคนยืนอยู่ในท่าตัวงอเป็นกุ้ง

แถมยังเอามือกุมของลับของตัวเองด้วยสีหน้าบิดเบี้ยวเพราะความเจ็บปวด...

สภาพแบบนี้โดนเตะผ่าหมากมาแหงๆ ผมอาศัยจังหวะนี้

ปลีกตัวออกมาจากห้องทำงานของบอสอย่างรวดเร็ว เพราะการที่จะลอบเข้าไปสืบข้อมูล

ในอาเซติคต้องไม่มีใครจำหน้าผมได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะลูกสาวคนโตของหัวหน้า

แก๊งอาเซติคอย่าง โอปอล  คนที่กำลังเกาะแขนบอสของผมเป็นปลิงอยู่ในตอนนี้ไงล่ะ”

 

จากนิยายเรื่อง “KASIBSHOL CAMPAIGN พันธะรักมาเฟียร้าย”

http://www.tunwalai.com/stories/edit/16239

 

 

แบบที่ 2 : บุรุษที่2 ผู้อื่นเป็นผู้บรรยาย

 

            แบบที่ 2 นี้เป็นการบรรยายที่ใช้บุรุษที่ 3 คือเป็นการบรรยายโดยผ่านใครคนใดคนหนึ่ง อาจเป็นตัวนักเขียน ผู้มองเหตุการณ์อยู่รอบข้าง หรือเป็นการบรรยายโดยไม่กล่าวอ้างถึงใคร คำที่ใช้เรียกตัวละครส่วนใหญ่มักจะเป็นการเรียกตัวบุคคลหรือการเรียกชื่อ เช่น หญิงสาว ชายหนุ่ม ร่างบาง ร่างหนา ตัวโต คนตัวเล็ก หรือชื่อของตัวละคร เป็นต้น แต่ทั้งนี้คำที่ยกตัวอย่างข้างต้นก็ขึ้นอยู่กับบริบทของเนื้อหาด้วย

ตัวอย่างเช่น

“สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตของก้านบัวนั้นมันอาจจะเข้าใจยากหน่อย

แต่ลึกๆ แล้วมันก็สามารถที่เข้าใจชีวิตของเธอได้ไม่ยาก

ก้านบัวเธอเป็นคนที่ไม่ชอบยุ่งกับใครอยู่คนเดียวได้ยิ่งดี ชีวิตของตัวเธอเอง

ไม่ค่อยสวยหรูเท่าไรแตกต่างจากคนอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ก้านบัวไม่ค่อยมีเพื่อนสนิทมากนัก

เพราะตัวเธอเองเข้ากับคนยากมาก ไม่ค่อยเข้าหาใครก่อน

เธอเป็นคนที่เข้าถึงยากแต่ถ้าได้รู้จักกับเธอแล้วจะหลงรักเธอทันที”

 

จากนิยายเรื่อง “เกิดมาเพื่อพบเธอ”

 

http://www.tunwalai.com/story/93714

7.8kอ่านประกาศ 2016-05-30T05:49:07.5770000+00:00ลงประกาศ

แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นทั้งหมด ()
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น