พล็อต สำคัญไฉน? ตอน ขั้นที่ 1 ทำความรู้จัก ธีม เเละ แนวคิด

พล็อต (Plot) สำคัญไฉน?

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ นักเขียนนักอ่าน ซึ่งในบทความนี้ธัญวลัยขอจงใจพูดกับนักเขียนเป็นพิเศษเลยเเล้วกัน เพราะหัวข้อที่เราจะพูดต่อไปนี้คือรากฐานของการเขียนนิยายอย่างเเท้จริง! อันดับเเรกก่อนที่เราจะเริ่มต้นเขียนนิยายคือ ต้องวางพล็อต

เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาธัญวลัยเคยพูดถึงหัวข้อนี้ในงาน ธัญจัดสัมฯ ครั้งที่ 1 ตอน พล็อตอมตะ >>ชมบรรยากาศงานธัญจัดสัมฯคลิกเลย<< เพราะนิยายที่ดีต้องมีพล็อตที่ดี มีคนเคยบอกว่า ไม่มีพล็อตก็เขียนได้ ใช่ค่ะ เขียนได้ เเต่นิยายของคุณจะไม่ดีเท่าที่ควรหากไม่มีพล็อต ดังนั้นเราจะยกหัวข้อนี้มาให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้ไปงานธัญจัดสัมฯ ครั้งที่ 1 มาให้อ่านค่ะ 

 

 

พล็อต(Plot) หรือ โครงเรื่อง

ความหมาย : สิ่งที่จะบอกว่าเกิดอะไรขึ้นในนิยายของเรา พล็อตเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของนิยาย หากเทียบกับการเดินทาง พล็อตก็คือแผนที่ ที่จะช่วยให้นักเขียนเขียนไปจนถึงจุดหมายปลายทางได้ โดยไม่หลงทางหรือเจอทางตัน

 

ทำไมต้องมีพล็อต

นักเขียน : พล็อตจะทำให้นักเขียนมองเห็นเรื่องทั้งหมดที่ตัวเองจะเขียน และเขียนไปได้จนจบโดยไม่ออกทะเล

นักอ่าน : พล็อตจะทำให้นักอ่านเห็นความเชื่อมโยงกันของเหตุการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช่เกิดจากความบังเอิญ

 

องค์ประกอบของพล็อต

 

ธีม/พรีไมส์ (แนวเรื่อง/แนวคิด)

ตัวละคร

เหตุการณ์

ฉาก (เวลา,สถานที่)

เชื่อมโยง

ด้วย

à

- ความขัดแย้ง

- ซับซ้อน

- วิกฤตการณ์

- บทสรุป

 

โดยเรามีเคล็บลับการสร้างพล็อต 5 ขั้นตอนมาฝากค่ะ

รับรองว่าอ่านครบทั้ง 5 ขั้น สร้างพล็อตฉลุยแน่นอน

 

ขั้นที่ 1 ทำความรู้จัก ธีม และ แนวคิด

            ธีม (Theme) คือ แก่นเรื่อง หรือ แนวเรื่อง เป็นสิ่งที่จะบอกว่านิยายของเราเกี่ยวกับอะไร เช่น ความรัก สันติภาพ มิตรภาพ นิยายที่ดีควรมีธีม เพราะธีมคือหัวใจหลักของเรื่อง

            แนวคิด หรือ พรีไมส์ (Premise) คือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับธีมที่นักเขียนอยากนำเสนอ ซึ่งสิ่งดังกล่าวอาจมาจาก ความเชื่อ ทัศนคติ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์ เช่น ความรักชนะได้แม้ความตาย ทำดีย่อมได้รับ สิ่งดีตอบแทน ทั้งนี้แนวคิดที่นักเขียนนำเสนออาจเป็นความคิดเห็นส่วนตัวจากมุมมองของนักเขียนเอง ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงที่สังคมยอมรับเสมอไป เช่น

- แม่สามารถเสียสละทุกอย่างได้เพื่อลูก (แนวคิดที่สังคมยอมรับ)

- แม่ทุกคนไม่ได้เสียสละเพื่อลูกเสมอไป (ความคิดเห็นนักเขียน)

ซึ่งหากต้องการนำเสนอสิ่งที่ขัดกับแนวคิดที่สังคมยอมรับ นักเขียนจะต้องสร้างเรื่องขึ้นมาอย่างมีเหตุผลเพื่อสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวให้ผู้อ่านเชื่อและยอมรับความคิดเห็นของนักเขียน

ตัวอย่าง ธีมและแนวคิด

เรื่อง

ธีม

แนวคิด

ทไวไลท์

ความรักต่างเผ่าพันธุ์

ไม่มีสิ่งใดแบ่งกั้นความรักได้

เดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริง

ความโลภ

ความโลภก่อเกิดความแตกแยก

แรงเงา

ความแค้น

ความแค้นไม่ส่งผลดีต่อผู้ใด

ทองเนื้อเก้า

ความกตัญญู

ผู้ที่มีความกตัญญูย่อมเจริญ

 

วิธีสร้างธีมและแนวคิด

ธีม มักเป็นคำที่อยู่ในรูปแบบของความรู้สึกที่จะมีผลกระทบต่อจิตใจมนุษย์ เช่น ความรัก ความแค้น ความอดอยาก ความกตัญญู

            แนวคิดเป็นการนำธีมมาขยายจะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1. ธีม

2. การกระทำ/การเคลื่อนไหว

3. ผลลัพธ์

(ตามความคิดส่วนตัว)

A

มีอะไรต่อ

B

ความดี

ชนะ

ความชั่ว

ความโลภ

นำมาซึ่ง

ความวิบัติ

ความรัก

ท้าทายแม้

ความตาย

คนโง่

เป็นเหยื่อ

คนฉลาด

*อย่ายัดเยียดแนวคิดใส่ปากตัวละครจนเหมือนเป็นการสอนผู้อ่าน แต่ควรให้เห็นจากการกระทำ เช่น ต้องการเขียนนิยายเพื่อนำเสนอเรื่องสันติภาพ แต่อย่าให้ตัวละครพร่ำบ่นถึงความงดงามของสันติภาพ ควรแสดงให้เห็นถึงความโหดร้ายของสงคราม เป็นต้น

การคิดธีมและแนวคิดอาจเริ่มโดยการคิดเรื่องที่นักเขียนอยากจะบอกผู้อ่าน นึกถึงคำที่ตัวเองสนใจก่อน แล้วคิดต่อยอดจากคำนั้นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคำนี้ได้บ้าง เช่น

ชอบคำว่า อิจฉา >> หากมีความอิจฉาจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง >> ใครอิจฉา (ตัวร้ายอิจฉาพระเอก) >> อิจฉาเรื่องอะไร? (มรดก) >> เขาทำอย่างไร (กลั่นแกล้ง ฆาตกรรม) >> ผลจะเป็นอย่างไร (ถูกจับติดคุก)

 ได้เป็น ธีม ความอิจฉา โดยมี แนวคิดว่า ความอิจฉาไม่เคยส่งผลดีกับใคร

 

จบไปเเล้ว 1 ขั้น  คราวหน้าธัญวลัยจะเอาการสร้างพล็อตขั้นที่ 2 มาฝากค่ะ  

12.2kอ่านประกาศ 2016-10-26T06:40:00.3800000+00:00ลงประกาศ

แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นทั้งหมด ()
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น